กลยุทธ์ในการเลือกทำเลที่ตั้ง

กลยุทธ์ในการเลือกทำเลที่ตั้ง

          การเลือกทำเลที่ตั้งของคลังสินค้าสามารถใช้ได้ทั้งแนวทางมหาภาค (Macro Approaches)และแนวทางจุลภาค (Micro Approaches) ซึ่งแนวทางมหภาคเป็นการวิเคราะห์เพื่อเลือกทำเลที่ตั้งหรือพื้นที่ขนาดใหญ่ระดับประเทศและภูมิภาค ส่วนแนวทางจุลภาคเป็นการเลือกทำเลที่ตั้งแบบเฉพาะเจาะจงจากพื้นที่หรือประเทศที่ได้เลือกไว้แล้ว
          1. การเลือกทำเลที่ตั้งตามแนวมหภาค ส่วนมากนิยมใช้สำหรับศูนย์กระจายสินค้า ในอดีตได้มีผู้เสนอแนวทางมหภาคสำหรับการเลือกทำเลที่ตั้งไว้หลายแนวทาง ในที่นี้จะขอเสนอแนวทางของ Edgar M. Hoover ซึ้งเสนอกลยุทธ์การเลือกทำเลที่ตั้งของศูนย์กระจายสินค้าไว้ 3 ประเภทดังนี้
               กลยุทธ์ทำเลที่ตั้งใกล้ตลาด (Market-Positioned Strategy) กลยุทธ์นี้จะกำหนดให้ติดตั้งคลังสินค้าอยู่ใกล้กับลูกค้าคนสุดท้าย (Final Customer) ให้มากที่สุด ซึ้งจะทำให้สามารถให้บริการลูกค้าได้ดี ปัจจัยสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งใกล้ลูกค้ามีหลายประการ เช่น ค่าขนส่ง รอบเวลาการสั่งซื้อสินค้า ความอ่อนไหวของผลิตภัณ์ ปริมาณที่สั้งซื้อ และระดับการให้บริหารลูกค้าต้องการ หรือเป็นการกำหนดทำเลที่ตั้งคลังสินค้าโดยมุ่งหวังให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด เสียค่าขนส่งน้อยที่สุด ระยะทางสั้นที่สุด
               กลยุทธ์ทำเลที่ตจั้งใกล้แหล่งผลิต (Production-Positioned Stratrgy) กลยุทธ์นี้กำหนดให้ตั้งคลังสินค้าอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบหรือโรงงานให้มากที่สุด ซึ่งการตั้งคลังสินค้าแบบนี้จะทำให้ระดับการให้บริการลูกค้าต่ำกว่ากลยุทธ์ทำเลที่ตั้งใกล้ตลาด แต่สามารถประหยัดค่าขนส่งวัตถุดิบเข้าสูงโรงงานซึ้งการประหยัดในกรขนส่งสามารถประหยัดค่าขนส่งสามาารถเกิดขึ้นได้โดยรวบรวมการขนส่งจากแหล่งต่างๆโดยรถบรรทุกหรือตู้คอนเทรนเนอร์ (Container Load : CL) ปัจจัยสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งใกล้แหล่งผลิตประกอบหลายประการ เช่น สภาพของวัตถุดิบว่าเน่าเสียง่ายหรือไม่ จำนวนวัตถุดิบที่เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ ฯลฯ
               กลยุทธ์ทำเลที่ตั้งอยู่ระหว่างลูกค้ากลับแหล่งผลิต (Intermediately-Positioned Strategy) กลยุทธ์นี้จะกำหนดให้ตั้งคลังสินค้าอยู่ตรงกลางระหว่างผลิตและตลาด ซึ้งการตั้งคลังสินค้าประเภทนี้ ทำให้ระดับการให้บริการต่ำกว่าแบบแรกแต่สูงกว่าแบบที่สอง ทำเลที่ตั้งประเภทนี้เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการให้บริการลูกค้า และมีโรงงานการผลิตหลายแห่ง หรือเป็นการประสานประโยชน์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้ผลิต สินค้าโดยกำหนดทำเลที่ตั้งคลังสินค้าโดยยึดสายกลางระหว่าง 2 กลุ่ม เช่น การมีคลังสินค้ามากกว่าหนึ่งแห่ง หรือการสร้างคลังสินค้ากึ่งกลางระหว่างทางของการขนส่งจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค
          นอกจากนี้การกำหนดทำเลที่ตั้งคือยังต้องคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกิจการ 2 ประเภท คือ ปัจจัยเชิงปริมาณ และปัจจัยเชิงคุณภาพ
          2.การเลือกทำเลที่ต้องสำหรับแนวทางจุลภาค ส่วนมากเหมาะสำหรับคลังสินค้า ควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
               ธุรกิจต้องการใช้คลังสินค้าเอกชน ควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
          -คุณภาพและความหลากหลายของยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง
          -คุณภาพและปริมาณของแรงงาน รวมถึงอัตราจ้างแรงงาน
          -คุณภาพของเขตอุตสาหกรรมซึ่งส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมชุมชน และสาธารณูปโภค
          -ต้นทุนของเงินลงทุน รวมถึงต้นทุนค่าก่อสร้าง ศักยภาพในการขยายพื้นที่ และผลประโยชน์ทาง   ภาษี
               ธุรกิจต้องการใช้สินค้าสาธารณะ ควจพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังนี้
          -ลักษณะของคลังสินค้า และการบริการของคลังสินค้า
          -ความเพียงพอของยานพาหนะในการขนส่ง ระยะทางของการไปสถานีขนส่งสินค้า
          -ความเพียงพอของบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมและการใช้คลังสินค้าจากธุรกิจอื่น
          -ประเภทความถี่ของการรายงานสินค้าคงคลัง
          กระบวนการเลือกทำเลที่ตั้งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน นอกจากนั้นในบางกรณีจะมีปัจจัยอื่นเข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งของคลงัสินค้า เช่น สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เทคโนโลยีฯ จึงควรพิจารณาปัจจัยเหล่านี้เพิ่มเติม การก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการคลังสินค้าแห่งหนึ่ง ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการลงทุนเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เมื่อได้กำหนดที่ตั้งและทำการก่อสร้างลงไปแล้ว หากต้องการมีการเปลี่ยนแปลงย้ายที่ตั้งใหม่ย่อมเป็นเรื่องยุ่งยาก และเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกมากมายซึ้งไม่ควรไม่ควรเป็นเช่นนั้น วิธีที่จะแก้ได้ก็คือจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบทุกด้านทุกมุม ในการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าแต่ละแห่งย่อมมีสภาพที่แตกต่างกันออกไปตามนโยบายของธุรกิจตามประเภทของสินค้าที่ทำการเก็บรักษา และตามขนาดของกิจการ การเลือกทำเลที่ตั้งก็ย่อมมีข้อพิจารณาที่แตกต่างกันออกไป เป็นหน้าที่ของผู้บริการที่จะตกลงใจเลือกทำเลซึ้งสามารถ อำนวยให้การดำเนินธุกิจเป็นไปได้อย่างสมประโยชน์ และบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้



แหล่งสืบค้นข้อมูล : ดร.คำนาย อภิปรัชญาสกุล.//(2556)กลยุทธ์ในการเลือกทำเลที่ตั้ง.//12 ธันวาคม 2561,/จาก/การจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การรับสินค้า (Receiving Operation)

ความสัมพันธ์ระหว่างคลังสินค้ากับกิจกกรมโลจิสติกส์