บทความ

กลยุทธ์ในการเลือกทำเลที่ตั้ง

รูปภาพ
กลยุทธ์ในการเลือกทำเลที่ตั้ง           การเลือกทำเลที่ตั้งของคลังสินค้าสามารถใช้ได้ทั้งแนวทางมหาภาค (Macro Approaches)และแนวทางจุลภาค (Micro Approaches) ซึ่งแนวทางมหภาคเป็นการวิเคราะห์เพื่อเลือกทำเลที่ตั้งหรือพื้นที่ขนาดใหญ่ระดับประเทศและภูมิภาค ส่วนแนวทางจุลภาคเป็นการเลือกทำเลที่ตั้งแบบเฉพาะเจาะจงจากพื้นที่หรือประเทศที่ได้เลือกไว้แล้ว           1. การเลือกทำเลที่ตั้งตามแนวมหภาค ส่วนมากนิยมใช้สำหรับศูนย์กระจายสินค้า ในอดีตได้มีผู้เสนอแนวทางมหภาคสำหรับการเลือกทำเลที่ตั้งไว้หลายแนวทาง ในที่นี้จะขอเสนอแนวทางของ Edgar M. Hoover ซึ้งเสนอกลยุทธ์การเลือกทำเลที่ตั้งของศูนย์กระจายสินค้าไว้ 3 ประเภทดังนี้                 กลยุทธ์ทำเลที่ตั้งใกล้ตลาด (Market-Positioned Strategy) กลยุทธ์นี้จะกำหนดให้ติดตั้งคลังสินค้าอยู่ใกล้กับลูกค้าคนสุดท้าย (Final Customer) ให้มากที่สุด ซึ้งจะทำให้สามารถให้บริการลูกค้าได้ดี ปัจจัยสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งใกล้ลูกค้ามีหลายประการ เช่น ค่าขนส่ง รอบเวลาการสั่งซื้อสินค้า ความอ่อนไหวของผลิตภัณ์ ปริมาณที่สั้งซื้อ และระดับการให้บริหารลูกค้าต้องการ หรือเป็นการกำหนดท

ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง

รูปภาพ
ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง           ภาระงานอันหนักประการหนึ่งของการจัดการสินค้าคงคลัง คือ การลงบัญชีและตรวจนับสินค้าคงคลัง เพราะแต่ละธุรกิจจะมีสินค้าคงคลังหลายชนิด แต่ละชนิดอาจมีความหลากหลาย เช่น ขนาดรูปถ่ายสีผ้า ซึ่งทำให้การนับสินค้าคงคลังต้องใช้พนักงานจำนวนมากเพื่อให้ได้จำนวนที่ถูกต้องภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด เพื่อที่จะได้รับทราบว่าชนิดสินค้าคงคลังที่เริ่มขาดมือต้องซื้อมาเพิ่ม และปริมาณการซื้อที่เหมาะสม ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังที่มีอยู่ 4 วิธี          ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่อง (Continuous Inventory System) เป็นระบบสินค้าคงคลังที่มีวิธีการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับและจ่ายของ ทำให้บัญชีคุมยอดแสดงยอดคงเหลือที่แท้จริงของสินค้าคงคลังอยู่เสมอ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการควบคุมสินค้าคงคลังรายการที่สำคัญที่ปล่อยให้ขาดมือไม่ได้แต่ระบบนี้เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายด้านงานเอกสารค่อนข้างสูง และต้องใช้พนักงานจำนวนมากจึงดูแลการรับจ่ายได้ทั่วถึง ปัจจุบันสำนักงานและบัญชีสามารถช่วยแก้ปัญหาข้อนี้ได้คือโดยการใช้รหัสแท่ง      (Bar Code) หรือรหัสสากลสำหรับผลิตภัณฑ์ติดบนสินค้าแล้วใช้เครื่องอ่านรหัสแท่

ประเภทคลังสินค้า

รูปภาพ
ประเภทคลังสินค้า           คลังสินค้าสาธารณะเป็นกิจการทางธุรกิจที่เป็นเอกเทศเฉพาะ ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการหลักอย่างอื่น และเป็นกิจการแขนงหนึ่งของอุตสาหกรรมบริการ กิจกรรมในหน้าที่คลังสินค้าสาธารณะก็คือการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเก็บรักษาสินค้าและให้บริการจัดจัดเก็บรักษาสินค้า รวมทั้งให้บริการต่างๆ เกี่ยวกับสินค้านั้น เพื่อบำเหน็ดตอบแทนเป็นทางการค้าปกติของกิจการ หรือคลังสินค้าสาธารณะอาจเป็นคลังสินค้าที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทจำกัด การให้บริการรับฝากสินค้าและบริการอื่นๆที่เกี่ยวกับคลังสินค้าโดยเฉพาะ           การประกอบกิจการคลังสินค้าสาธารณะ เป็นการค้าประเภทที่ถือว่ามีผลกระทบต่อความปลอดภัยและผาสุกของสาธารณะชน ดังนั้นการจัดตั้งคลังสินค้าและการดำเนินงานต้องให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฏหมาย ข้อบังคับ และเงื่อนไขควบคุมของรัฐ คลังสินค้ากลุ่มนี้ออกเป็น 3 ประเภท ดังรายละเอียดดังนี้                     คลังสินค้าสาธารณะของบริษัทเอกชน   เป็นธุรกิจการค้าของเอกชนที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด การลงทุนจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเก็บรักษาขึ้นเป็นแบบใดแบบหนึ

ความสัมพันธ์ระหว่างคลังสินค้ากับกิจกกรมโลจิสติกส์

รูปภาพ
ความสัมพันธ์ระหว่างคลังสินค้ากับกิจกรรมโลจิสติกส์ การจัดการคลังสินค้ามีความสัมพันธ์กับกิจกรรมโลจิสติกส์ ดังนี้           1.การผลิต การผลิตสินค้าจำนวนน้อยส่งผลให้จำนวนสินค้าคงคลังน้อยลงตามสัดส่วนและทำให้ต้องการพื้นที่จัดเก็บสินค้าน้อย แต่ในทางการผลิตจะมีการผลิตบ่อยครั้งซึ้งทำให้ต้นทุนการตั้งเครื่องจักร(Setup Cost) และต้นทุนการเปลี่ยนสายการผลิตสูงขึ้น ในทางตรงกันข้ามการเดินสายการผลิตเพื่อผลิตสินค้าจำนวนมาก (Mass Product) ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ซึ้งทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำ แต่สิ่งที่ตามมาคือเกิดสินค้าคงคลังของสินค้าสำเร็จรูปจำนวนมากและต้องการพื้นที่ในการเก็บสินค้ามากขึ้น ผู้บริหารจึงควรเปรียบเทียบ และหาทางเลือก (Trade-offs) ระหว่างต้นทุนการผลิตที่สามารถประหยัดได้ และต้นทุนสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นทำให้ได้ต้นทุนรวมต่ำที่สุด ซึ้งสรุปกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการผลิตดังนี้      การสั่งซื้อ (Purchasing) เพื่อรักษาสต็อกที่ได้จัดซื้อแล้ว เป็นสต็อกที่ได้ลงทุนแล้ว      การผลิต (Production) เพื่อเก็บวัตถุดิบ ส่วนประกอบ งานระหว่างการผลิต รวมถึงการเก็บรักษาสินค้าสำเ

ความสำคัญของคลังสินค้า

รูปภาพ
ความสำคัญของคลังสินค้า           การประกอบกิจการค้าขายที่เกี่ยวกับสินค้าชนิดต่างๆ นั้นนับเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมากทีเดียว ไม่ว่าสินค้าจะเป็นผลผลิตทางการเกษตร หรือผลผลิตทางอุตสาหกรรมประเภทใดก็ตาม คลังสินค้านับเป็นเครื่องมือที่สำคัญในอันที่จะให้การประกอบธุรกิจค้าขายเกี่ยวกับสินค้าบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ ในบทนี้จะกล่าวถึงความสำคัญโดยทั่วไปของคลังสินค้า และความสำเร็จต่อกิจการต่างๆ ดังจะได้แยกอธิบายเป็นแต่ละเรื่องไปดังต่อไปนี้            1.ความสำคัญโดยทั่วไป การกระจายสินค้าเป็นกิจกรรมเชื่อมต่อที่สำคัญกิจกรรมหนึ่งใน. ซัพพลายเชนจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคและคลังสินค้าทำหน้าที่รักษาสมดุลระหว่างการบริโภค ซึ้งมีอัตราความต้องการขึ้นลงไม่แน่นอนและคาดหมายล่วงหน้าได้ยาก ส่วนการผลิตจะมีอัตราของผลผลิตเป็นปริมาณที่ค่อนข้างแน่นอนกว่า แม้ว่าการวางแผนการผลิตสินค้าต้องอาศัยอัตราการบริโภค หรืออุปสงค์ที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ซึ้งเป็นปัจจัยที่ไม่คงที่และไม่แน่นอนของความต้องการในการบริโภคซึ้งอาจทำให้เกิดความไม่สมดุลขึ้นได้ในห้วงเวลาใดเวลาหนึ่ง          

นโยบายการตั้งคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า

รูปภาพ
นโยบายการตั้งคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า           การกำหนดนโยบาย นโยบายในการตั้งคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า เพื่อให้คล้องกับวัตถุประสงค์ มีปัจจัยที่ใช้พิจารณาดังต่อไปนี้        1.ประเภทของอุตสาหกรรม รวมถึงปรัชญาของธุรกิจ ความเพียงพอของเงินลงทุน        2.ลักษณะของสินค้าซึ่งรวมถึง ขนาดสินค้า สินค้าที่เป็นฤดูกาล ความเน่าเสียง่ายของสินค้า          การทดแทนกันได้ของสินค้า และความเสื่อมของสินค้า        3.สภาวะทางเศรษฐกิจ และสภาวะของการแข่งขัน        4.กระบวนการผลิตที่ใช้ เช่น การใช้ระบบผลิตแบบทันเวลาพอดี    โดยถ้าพิจารณานโยบายการตั้งคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ในการเป็นแหล่งสนับสนุนการผลิดจะอยู่ในรูปการจัดการวัสดุ ส่วนการสนับสนุนการตลาดจะอยู่ในรูปการกระจายสินค้าซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้            สนับสนุนการผลิต  (Manufacturing Support) โดยคลังสินค้าจะทำหน้าที่ในการรวบรวมวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตชิ้นส่วน และส่วนประกอบต่างๆ จากผู้ขายวัตถุดิบ เพื่อส่งป้อนให้กับโรงงานเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปต่อไป           การผสมผลิตภัณฑ์ (Mixing) ในกรณีที่ลูกค้าต้องการสินค

ระดับสินค้าคงคลังกับการเลือกใช้วิธีการขนส่ง

รูปภาพ
ระดับสินค้าคงคลังกับการเลือกใช้วิธีการขนส่ง      การพิจารณาต้นทุนต้องพิจารณาระหว่างต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง และต้นทุนกิจกรรม    โลจิสติกส์อื่นๆ เช่น ต้นทุนการขนส่งต่ำต้องเลือกหมวดของพาหนะที่ใช้ในการขนส่งที่มีความเร็วต่ำและต้นทุนต่ำ เช่น ขนส่งทางเรือเดินสมุทรทำให้ต้นทุนรวมด้านโลจิสติกส์ต่ำสุดได้ ส่วนการเลือกพาหนะในการขนส่งที่มีความรวดเร็วแต่มีต้นทุนสูง เช่น รถบรรทุก เครื่องบิน เป็นต้น นอกจากนั้นต้องพิจารณาเส้นทางสถานีขนถ่าย ขนาดยานพาหนะ ซึ่งการขนส่งในประเทศไทยมรทางเลือกอยู่ 4 ประการ ประกอบด้วย 1.การขนส่งทางบก สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่       1.1 การขนส่งทางถนน เป็นรูปแบบการขนส่งที่มีปริมาณสูงที่สุดและเป็นรูปแบบการขนส่งหลักที่หล่อเลี้ยงสังคมและชุมชนมาโดยตลอด การขนส่งทางถนนกระทำโดยการใช้รถบรรทุกเป็นยานพาหนะในการเคลื่อนย้ายสินค้าอาจกล่าวได้ว่าสินค้าทุกชนิดสามารถขนส่งได้โดยการขนส่งทางถนน ข้อดีสำหรับการขนส่งทางถนนคือ การบริการส่งถึงที่หรือ Door-To-Door หรือการนำสินค้าไปส่งได้ถึงที่บ้าน       1.2 การขนส่งทางราง เป็นรูปแบบการเดินทางที่อยู่คู่สังคมไทยมานับตั้งแต่