บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างคลังสินค้ากับกิจกกรมโลจิสติกส์

รูปภาพ
ความสัมพันธ์ระหว่างคลังสินค้ากับกิจกรรมโลจิสติกส์ การจัดการคลังสินค้ามีความสัมพันธ์กับกิจกรรมโลจิสติกส์ ดังนี้           1.การผลิต การผลิตสินค้าจำนวนน้อยส่งผลให้จำนวนสินค้าคงคลังน้อยลงตามสัดส่วนและทำให้ต้องการพื้นที่จัดเก็บสินค้าน้อย แต่ในทางการผลิตจะมีการผลิตบ่อยครั้งซึ้งทำให้ต้นทุนการตั้งเครื่องจักร(Setup Cost) และต้นทุนการเปลี่ยนสายการผลิตสูงขึ้น ในทางตรงกันข้ามการเดินสายการผลิตเพื่อผลิตสินค้าจำนวนมาก (Mass Product) ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ซึ้งทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำ แต่สิ่งที่ตามมาคือเกิดสินค้าคงคลังของสินค้าสำเร็จรูปจำนวนมากและต้องการพื้นที่ในการเก็บสินค้ามากขึ้น ผู้บริหารจึงควรเปรียบเทียบ และหาทางเลือก (Trade-offs) ระหว่างต้นทุนการผลิตที่สามารถประหยัดได้ และต้นทุนสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นทำให้ได้ต้นทุนรวมต่ำที่สุด ซึ้งสรุปกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการผลิตดังนี้      การสั่งซื้อ (Purchasing) เพื่อรักษาสต็อกที่ได้จัดซื้อแล้ว เป็นสต็อกที่ได้ลงทุนแล้ว      การผลิต (Production) เพื่อเก็บวัตถุดิบ ส่วนประกอบ งานระหว่างการผลิต รวมถึงการเก็บรักษาสินค้าสำเ

ความสำคัญของคลังสินค้า

รูปภาพ
ความสำคัญของคลังสินค้า           การประกอบกิจการค้าขายที่เกี่ยวกับสินค้าชนิดต่างๆ นั้นนับเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมากทีเดียว ไม่ว่าสินค้าจะเป็นผลผลิตทางการเกษตร หรือผลผลิตทางอุตสาหกรรมประเภทใดก็ตาม คลังสินค้านับเป็นเครื่องมือที่สำคัญในอันที่จะให้การประกอบธุรกิจค้าขายเกี่ยวกับสินค้าบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ ในบทนี้จะกล่าวถึงความสำคัญโดยทั่วไปของคลังสินค้า และความสำเร็จต่อกิจการต่างๆ ดังจะได้แยกอธิบายเป็นแต่ละเรื่องไปดังต่อไปนี้            1.ความสำคัญโดยทั่วไป การกระจายสินค้าเป็นกิจกรรมเชื่อมต่อที่สำคัญกิจกรรมหนึ่งใน. ซัพพลายเชนจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคและคลังสินค้าทำหน้าที่รักษาสมดุลระหว่างการบริโภค ซึ้งมีอัตราความต้องการขึ้นลงไม่แน่นอนและคาดหมายล่วงหน้าได้ยาก ส่วนการผลิตจะมีอัตราของผลผลิตเป็นปริมาณที่ค่อนข้างแน่นอนกว่า แม้ว่าการวางแผนการผลิตสินค้าต้องอาศัยอัตราการบริโภค หรืออุปสงค์ที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ซึ้งเป็นปัจจัยที่ไม่คงที่และไม่แน่นอนของความต้องการในการบริโภคซึ้งอาจทำให้เกิดความไม่สมดุลขึ้นได้ในห้วงเวลาใดเวลาหนึ่ง          

นโยบายการตั้งคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า

รูปภาพ
นโยบายการตั้งคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า           การกำหนดนโยบาย นโยบายในการตั้งคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า เพื่อให้คล้องกับวัตถุประสงค์ มีปัจจัยที่ใช้พิจารณาดังต่อไปนี้        1.ประเภทของอุตสาหกรรม รวมถึงปรัชญาของธุรกิจ ความเพียงพอของเงินลงทุน        2.ลักษณะของสินค้าซึ่งรวมถึง ขนาดสินค้า สินค้าที่เป็นฤดูกาล ความเน่าเสียง่ายของสินค้า          การทดแทนกันได้ของสินค้า และความเสื่อมของสินค้า        3.สภาวะทางเศรษฐกิจ และสภาวะของการแข่งขัน        4.กระบวนการผลิตที่ใช้ เช่น การใช้ระบบผลิตแบบทันเวลาพอดี    โดยถ้าพิจารณานโยบายการตั้งคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ในการเป็นแหล่งสนับสนุนการผลิดจะอยู่ในรูปการจัดการวัสดุ ส่วนการสนับสนุนการตลาดจะอยู่ในรูปการกระจายสินค้าซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้            สนับสนุนการผลิต  (Manufacturing Support) โดยคลังสินค้าจะทำหน้าที่ในการรวบรวมวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตชิ้นส่วน และส่วนประกอบต่างๆ จากผู้ขายวัตถุดิบ เพื่อส่งป้อนให้กับโรงงานเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปต่อไป           การผสมผลิตภัณฑ์ (Mixing) ในกรณีที่ลูกค้าต้องการสินค