การรับสินค้า (Receiving Operation)


การรับสินค้า (Receiving Operation)

   1.รูปแบบสินค้า การควบคุมการรับสินค้าส่วนมากอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมงานคลังสินค้าซึ้งสามารถควบคุมให้ระดับการไหลของคำสั่งซื้อเพื่อไม่ให้เกิดการกระจุกตัวของการรับสินค้าและไม่ส่งผลกระทบในพื้นที่ทำงานอื่น รูปแบบการรับสินค้าเข้าคลังสินค้าสามารถรับมาจาก 2 แหล่งดังนี้

   -จากผู้ขายปัจจัยการผลิต สินค้าจะอยู่ในรูปวัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ และสินค้าสำเร็จรูป

   -จากหน่วยการผลิต โดยการรับสินค้าที่มาจากโรงงานอื่นที่ห่างจากคลังสินค้า โดยสินค้าจะอยู่ในรูปสินค้าสำเร็จรูปสำหรับการจัดส่ง และงานระหว่างกระบวนการผลิตที่ต้องจัดเก็บไว้จนกว่าจะเป็นสินค้าสำเร็จรูป

2.วัตถุประสงค์ของการรับสินค้า การรับวัสดุหรือสินค้า จากผู้ขายภายในหรือภานนอก โดยต้องนำลงจากรถให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุดทำให้จัดเก็บได้ และตรวจสอบปริมาณ ชนิด เงื่อนไขของวัสดุหรือสินค้าว่าเป็นไปตามที่กำหนดในใบคำสั่งซื้อ

3.ปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการแรงงาน คือ ความถี่ ปริมาณสินค้าที่รับเข้าคลังสินค้า และวิธีการรับสินค้า ความสามารถนำเข้าจัดเก็บยังพื้นที่จัดเก็บ

4.กิจกรรมย่อยของงานรับสินค้า เป็นขอบเขตของงานที่ต้องดำเนินงานโดยครอบคลุมทั้งเกี่ยวกับตัวสินค้า การจัดการ การตรวจสอบงาน ซึ้งประกอบด้วยรายละเอียดต่อไปนี้

- ปิดและเปิดประตูคลังสินค้า

- จองที่จอดรถยนต์ ตรวจสอบเที่ยวรถ และออกในสั่งในการลงสินค้า

- เรียกรถยนต์เพื่อนำเข้าช่องเพื่อลงสินค้า

- ตรวจสอบเอกสารนำส่งสินค้า

5.รายละเอียดกิจกรรมรับสินค้า  การดำเนินการแรกรับสินค้าที่ถูกส่งเข้ามานั้นอย่างทันทีทันใดและถูกต้องแน่นอนย่อมมีความสำคัญต่อการดำเนินงานคลังสินค้าที่มีประสิทธิผลและการเก็บรักษา ในขั้นตอนการรับสินค้าเข้ามายังคลังสินค้าอาจมีงานย่อยหลายงานที่ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้



- การตรวจพิสูจน์ทราบ

- การตรวจสภาพ

- การตรวจแยกประเภท    

แหล่งสืบค้นข้อมูล : ดร.คำนาย อภิปรัชญาสกุล.//(2556).//30 กันยายน 2561,/จาก/การจัดการคลังสินค้าและการ  กระจายสินค้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กลยุทธ์ในการเลือกทำเลที่ตั้ง

ความสัมพันธ์ระหว่างคลังสินค้ากับกิจกกรมโลจิสติกส์